26th June 2016
กลับ มาแล้วค่า .... จริง ๆ ก็ไม่ได้หายหัวอันฟู ๆ นี้ไปไหนเลย งานทั้งนั้น
เพราะเหนื่อยมาก ๆ เช้าวันทำงานวันนึงที่ผ่านค่ำคืนฝนตกหนักมาทั้งคืน สายตา จขบ. เหลือบเห็นริ้วสายหมอกบาง ๆ ที่ห่มดอยสุเทพ "ฉันอยากพัก"
และก็ด้วยความ เหนื่อยมาก ๆ อีกเช่นกันถึงขั้นลาวงจรชีวิตวันอาทิตย์ที่ปกติต้องเข้าโบสถ์ เพื่อพาร่างไปหาพื้นที่สีเขียวให้บำบัดอาการ office syndrome ที่ ๆ ไม่ไกลเมืองเชียงใหม่มากนัก เนื่องจากเวลาด้วย ความเหนื่อยล้าที่สะสมด้วย
ทำ ให้เกิดทริปสั้น ๆ 6 ชั่วโมงในลำพูนขึ้นได้ ที่นี่ สะพานขาวทาชมภู ที่เช็คอินของใครหลาย ๆ คน จขบ.ก็เห็นมานานแล้ว กะมาหลายรอบมาไม่ถูก แต่รอบนี้ search เจอในเว็บ ๆ นึงของ รฟท. จำ url ไม่ได้แล้วเสียดายค่ะที่ไม่ได้แปะไว้ที่นี่ เผื่อใครไปไม่ถูกไง
และ ก็ภาพ ๆ นี้แหล่ะนะที่ดึง จขบ.ให้ไป เพราะความเขียวสดเป็นองค์ประกอบเป็นที่หนึ่ง เรื่องของประวัติศาสตร์เป็นที่สองค่ะ ณ เวลาเพลียร่างอย่างนี้
เครดิตภาพจาก Google
ตั้ง อยู่บริเวณบ้านทาชมภู หมู่ 4 ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน อยู่ระหว่างสถานีขุนตานกับสถานีทาชมภู เป็นสะพานประวัติศาสตร์ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2461 และสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2463 เพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินรถไฟจากลำปางมายังเชียงใหม่ สะพานขาวบ้านทาชมภูก่อสร้างต่อจากอุโมงค์รถไฟขุนตาน ซึ่งเป็นเส้นทางสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ เพื่อให้รถไฟข้ามผ่านลำน้ำแม่ทา มีลักษณะรูปทรงโค้งทาสีขาว เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ทำให้ชาวบ้านในท้องถิ่นตื่นเต้นเข้ามาดูชมการสร้างสะพานนี้อยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นสิ่งใหม่ รวมไปถึงนำอาหารและสิ่งของมาจำหน่ายให้กับกรรมกรแรงงานและนายช่างอยู่ตลอด เวลา
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสะพานแห่งนี้ว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารฝ่ายพันธมิตรต้องการจะทิ้งระเบิดทำลายเส้นทางเดินรถไฟของทหารญี่ปุ่นและ หนึ่งในเป้าหมายทั้งหมด มีสะพานขาวบ้านทาชมภูรวมอยู่ด้วย ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านใกล้เคียงจึงได้ช่วยกันทาสีสะพานให้เป็นสีดำ เพื่ออำพรางตาจากทหารฝ่ายพันธมิตรจนสะพานแห่งนิ้สามารถรอดพ้นจากการทิ้ง ระเบิดทำลายลงได้
เมื่อ พ.ศ. 2462 นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เพิ่งทรงรับตำแหน่งผู้บัญชาการรถไฟใหม่ๆ ได้ทรงนำช่างของพระองค์มาใช้ในการวางรางรถไฟสายลำปาง-เชียงใหม่ พระองค์ทรงรับสั่งให้ก่อสร้างสะพานทาชมภูซึ่งเป็นสะพานที่สร้างด้วยคอนกรีต เสริมเหล็ก ช่วงล่างตอม่อคอนกรีตล้วนและเสริมเหล็ก ใช้เทคนิคการก่อสร้างและวิศวกรรมจากตะวันตกโดยคำนึงถึงการรับน้ำหนักของรถไฟ ที่จะต้องวิ่งผ่าน จึงต้องคำนวนเรื่องโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กให้รับน้ำหนักให้ได้ มากกว่า 15 ตัน ซึ่งทำให้อยู่ยงคงกระพันอยู่จนถึงทุกวันนี้
.
การ สร้างสะพานทาชมภูมีปัญหาอยู่ช่วงหนึ่งคือ ในช่วงฤดูน้ำหลากจะมีการล่องไม้ซุงมาตามลำน้ำแม่ทา ทำให้ไม้ซุงไหลมาติดตรงบริเวณการก่อสร้างสะพานเป็นจำนวนมาก พอน้ำลดต้องนำช้างมาชักลากออกไป จึงทำให้งานสร้างสะพานล่าช้าไปด้วย
ปัจจุบัน เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ สะพานบ้านทาชมภูเป็นสะพานที่สวยงามอยู่ในบริเวณภูมิทัศน์ที่โดดเด่นของอำเภอ แม่ทาจังหวัดลำพูน
credit รายการอ้างอิง : อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ คุณพ่อประสงค์ ปัญญาภู : สมุดภาพ "ภาพเก่าเล่า เรื่องเมืองลำพูน".(2552). ม.ป.ท. : ม.ป.พ
.
.
.
เราออกจากเชียงใหม่ 8 โมงเป๊ะ ขับไปบนเส้นทางไปลำปาง ชอบเที่ยวหน้าฝนเรื่องความเขียวยกให้เขาเลย
ขับรถ ไปเพลินไป เพราะความชุ่มชื่นแก่สายตาตลอดทางจน Google GPS พามาถึงที่ตรงนี้ โค้งหักศอกตรงวัดแม่ทาอะไรสักอย่าง จขบ.ก็เห็นสะพานขาว ๆ เด่น ๆ อยู่ไม่ไกล ทางเข้าเป็นลูกรังประมาณ 400 เมตรเห็นจะได้ ว่าแล้วไปกันค่ะ
ก็ลุ้น ๆ ว่า รถไฟจะได้เวลามาไม๊
จอดรถและเราเป็นกลุ่มแรกที่มาเยือนของวันนี้ว่างั้นได้
ลุ้นรถไฟก็ลุ้น ลุ้นฝนก็ลุ้นน่ะ วันนั้น
พัก
ฟ้า
ก็
ใส
และใสมาก ++
รอแล้ว รอเล่า รอยังไงรถไฟก็ไม่มา
มองเห็นคนอื่น ๆ เขาก็เริ่มกันแล้วววว
.
.
.
การเยียวยาของธรรมชาติ กับคนทำงานจนร่างพัง
ดอกหญ้า แมลงตัวน้อยก็หายแล้ว
สุขที่เห็นคนที่รักอยู่ตรงหน้า
.
.
.
ขอบคุณที่แวะมา