ว่ากันว่าถ้ามีโอกาสได้ไปท่องเที่ยวที่ใดที่หนึ่ง นักท่องเที่ยวก็ควรไปยังสถานที่อันมีชื่อเสียงของที่แห่งนั้นเพื่อแวะชม ช็อป ชิม ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ อาหาร ของดี ของดัง หรือแม้แต่การแวะสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเพื่อความเป็นสิริ มงคลเอาฤกษ์เอาชัย ครั้งนี้เราลงมาปักษ์ใต้ที่ภูเก็ตก็เช่นเดียวกัน จึงหาโอกาสมาสักการะหลวงพ่อแช่มแห่งวัดไชยธาราราม (ชื่อเดิมคือฉลอง) แห่งนี้เพื่อความเป็นสิริมงคลตามที่คนท้องถิ่นแนะนำ
-
theTripPacker • ตุลาคม 08 , 2556
-
theTripPacker • ตุลาคม 08 , 2556
ด้วยความเลื่อมใสของชาวภูเก็ตเมื่อครั้งหลวงพ่อแช่มอุปสมบท ได้มีชาวบ้านมากมายขอปิดทองคำเปลวที่หน้าแข้งของท่านราวกับท่านเป็นพระพุทธ รูป เหตุเพราะชาวภูเก็ตเชื่อว่าท่านมีอิทธิฤทธิ์ในทางวิทยาคมมากมาย จึงพากันเคารพเลื่อมใสกันทั่วทั้งเมืองภูเก็ต ย้อนกลับไปสมัยรัชกาลที่ 5 จังหวัดภูเก็ตเกิดความวุ่นวายจากอำนาจของกรรมกรเหมืองแร่ชาวจีนที่ก่อการ จลาจลไล่ฆ่าฟันชาวบ้านหมายจะยึดเมืองภูเก็ต ซึ่งสมัยนั้นผู้คนเรียกกันว่า “กลุ่มโจรอั้งยี่” ชาวบ้านจึงรวมตัวกันต่อต้านกลุ่มโจร หลวงพ่อแช่มได้ช่วยชาวบ้านโดยให้ใช้วัดฉลองเป็น ฐานทัพ และมอบผ้าขาวม้าลงยันต์เป็นผ้าประเจียดให้ชาวบ้านทุกคนไว้โพกศรีษะซึ่งเป็น เครื่องรางป้องกันอันตรายและขวัญกำลังใจแก่ชาวเมืองฉลองอย่างมาก จนสามารถเอาชนะกลุ่มโจรได้ในท้ายที่สุด ไม่นานนักรัชกาลที่ 5 ทรงทราบเรื่องดังกล่าว จึงโปรดเกล้าฯพระราชทานสมณศักดิ์แก่หลวงพ่อแช่มเป็นพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี ตำแหน่งสังฆปาโมกข์แห่งเมืองภูเก็ต ซึ่งเป็นตำแหน่งอันสูงสุด และพระราชฐานนามวัดฉลองเป็น วัดไชยธาราราม
-
theTripPacker • ตุลาคม 08, 2556
-
theTripPacker • ตุลาคม 08 , 2556
วัดไชยธารารามยังคงเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่าง ชาติอย่างหนาแน่นทุกช่วงเวลาของวัน ความเลื่อมใสศรัทธานี้เห็นได้ชัดเจนว่าไม่เฉพาะแค่ชาวไทยเท่านั้น ทางวัดมีจุดบริการดอกไม้ธูปเทียนเพื่อสักการะรูปหล่อจำลองหลวงพ่อแช่ม หลวงพ่อช่วง และหลวงพ่อเกลื้อม ที่ ประดิษฐานในมณฑป โดยเชื่อกันว่าหากไหว้ขอพรจะช่วยส่งเสริมให้ชีวิตเจริญรุ่งเรืองปราศจาก ทุกข์ภัยไข้เจ็บ และหากผู้ใดปิดทองที่มือของท่าน ผู้นั้นก็จะค้าขายร่ำรวยประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ส่วนผู้ที่ชื่นชอบการเสี่ยงทายและการทำนายก็มีเซียมซีไว้ให้ด้วย แต่เรามีเคล็ดที่ไม่ลับจะบอกคือ หากผลการทำนายไม่ดีว่ากันว่าอย่านำใบทำนายกลับบ้านให้ทิ้งไว้ที่วัดเหมือน เป็นการฝากให้พระท่านช่วยดูแล ส่วนใครที่ได้ผลทำนายดีก็ให้เอากลับบ้านได้ สำหรับคนที่มาบนบานเอาไว้ก็มีไม่น้อย ดูได้จากบริเวณภายนอกมณฑปที่เห็นมาแก้บน บ้างก็จุดประทัด บางรายก็พากันมาอาบน้ำมนต์ ส่วนการแก้บนด้วยการอุปสมบทก็มีให้เห็นกันเกือบทุกวัน บริเวณวัดยังมีสถานที่สำคัญหลายแห่งด้วยกันนั่นคือ “พระมหาธาตุเจดีย์พระจอมไทยบารมีประกาศ” มองภายนอกวิจิตรสวยงามเป็นสง่า เมื่อเข้ามาภายในสัมผัสได้ถึงบรรยากาศอันเงียบสงบเย็นสบาย โดยบริเวณโถงชั้นล่างทางวัดได้ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ เอาไว้ ส่วนฝาผนังมีภาพวาดพุทธประวัติแสดงให้เห็น เช่น ตอนประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพาน พื้นที่อีกส่วนที่สำคัญของวัดเลยก็ว่าได้คือ “กุฎิจำลองพ่อท่านสมเด็จเจ้า” ซึ่ง ภายในจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งจำลองของหลวงพ่อแช่ม หลวงพ่อช่วง และหลวงพ่อเกลื้อม นอกจากนี้ภายในยังจัดแสดงเครื่องใช้โบราณต่างๆ เอาไว้มากมาย
-
theTripPacker • ตุลาคม 08, 2556
-
theTripPacker • ตุลาคม 08 , 2556
หลังจากนมัสการรูปหล่อจำลองและเดินชมกุฎิจำลองพ่อท่านสมเด็จเจ้าเสร็จแล้ว ก่อนกลับมีโอกาสเดินผ่านศาลาบริการของวัด ใช่มีเพียงดอกไม้ธูปเทียนไว้คอยบริการ แต่ยังมีพระเครื่องวัตถุมงคลให้นักท่องเที่ยวได้เช่ากลับไปบูชา เห็นจำนวนคนรอคิวดูแล้วเชื่อเลยว่าหลวงพ่อแช่มเป็นที่เคารพศรัทธาของทั้งชาว ไทยและต่างชาติสมดังคำกล่าวขานล่ำลือจริงๆ รู้อย่างนี้แล้วหากใครมีโอกาสมาเยือนเกาะภูเก็ต ก็อย่าลืมหาเวลามาสักการะหลวงพ่อแช่มที่วัดฉลองแห่งนี้ นอกจากจะทำให้เป็นสิริมงคลและได้บุญกลับไปฝากคนอื่นแล้ว ท่านยังจะได้รับความสดใสเบิกบานใจกลับไปอีกด้วย
-
theTripPacker • ตุลาคม 08 , 2556
Note
- หลวงพ่อแช่ม พื้นเพเดิมเป็นชาว อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา
- ทุกเดือนมกราคมของทุกปี ทางวัดจะจัดงานประจำปีซึ่งมีการออกร้านขายอาหารและสินค้าพื้นเมืองนานาชนิด
- พระมหาธาตุเจดีย์พระจอมไทยบารมีประกาศ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่นำมาจากประเทศศรีลังกา
-
theTripPacker • ตุลาคม 08 , 2556
ข้อมูลทั่วไป
ที่อยู่ : วัดไชยธาราราม ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000
GPS : 7.846325962, 98.33732704
เวลาทำการ : เปิดให้เข้ามาสักการะบูชาตลอดทั้งวัน
ช่วงเวลาแนะนำ : ตลอดทั้งวัน
กิจกรรม : สักการะบูชาหลวงพ่อแช่ม หลวงพ่อช่วง และหลวงพ่อเกลื้อม
-
theTripPacker • ตุลาคม 08 , 2556
วิธีการเดินทาง
จากตัวเมืองเดินทางด้วยถนนเจ้าฟ้าตะวันออกมาถึงห้าแยกฉลอง จากนั้นเปลี่ยนเส้นทางมาถนนเจ้าฟ้าตะวันตก ขับมาตามทางซักพัก สังเกตขวามือจะเห็นป้ายปูนขนาดใหญ่เขียนว่า วัดไชยธาราราม หรือ วัดฉลอง
-
theTripPacker • ตุลาคม 08, 2556
-
โหลดเพิ่ม