ย้อนกลับไปเมื่อ 160 ล้านปี ได้มีสิ่มีชีวิตขนาดใหญ่ที่เรียกว่า ไดโนเสาร์ ถือกำเนิดขึ้นบนโลก แม้ว่าในปัจจุบันเราจะไม่มีโอกาสได้เห็นไดโนเสาร์ตัวเป็น ๆ แต่ก็มีการขุดพบซานฟอสซิสต่าง ๆ ที่ถูกฝังลึกอยู่ในชั้นหินทั่วโลก ในประเทศไทยเองก็มีการค้นพบจำนวนมากที่แถบภาคอีสาน อย่างในจังหวัดกาฬสินธุ์ และขอนแก่นนี้ มีพิพิธภัณฑ์ที่ได้รวบรวมความรู้ต่าง ๆ ไว้พร้อมรอรับนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติ รวมถึงนักท่องเที่ยววัยเด็กที่สนใจอยากหาความรู้เพิ่มเติมในช่วงปิดเทอมนี้ด้วย นับว่าเป็นเรื่องน่าแปลก และน่าตื่นเต้นเหมือนกันที่มีไดโนเสาร์บางสายพันธุ์ถูกค้นพบในประเทศไทยที่เดียว
เราเดินทางมาค้นหาต้นกำเนิดไดโนเสาร์ที่ค้นพบในไทยกันก่อน เริ่มต้นจากที่วัดสักกะวัน จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่วัดแห่งนี้มีพระรูปหนึ่งได้พบนิมิตโอภาส ท่านเล่าว่า "ในปี 2536 -2537 ท่านพบแสงสว่างที่ไม่เคยพบในโลกนี้มาก่อน สว่างทั้งจักรวาล มองทะลุภูเขา มองทะลุต้นไม้มองเห็นทุกอย่าง อยากเห็นสิ่งใดก็เห็นไปหมด แล้วท่านก็มองเห็นสัตว์ชนิดหนึ่ง คอยาว เดินไปเดินมาในบริเวณภูกุ้มข้าว กินยอดไม้ เล่นน้ำ และล้มลงตาย เป็นอย่างนี้อยู่สองสามครั้ง จนครั้งสุดท้ายมีฝนตกกระหน่ำลงมาในบริเวณวัด พอฝนซาแผ่นดินที่เคยสูงกลับโดนน้ำเซาะจนเห็นเป็นกระดูกชิ้นใหญ่ หลายสิบชิ้นกระจัดกระจายอยู่ จึงส่งข่าวไปยังศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ เจ้าหน้าที่ก็ได้มาตรวจสอบปรากฏว่าเป็นไดโนเสาร์พันธุ์กินพืชที่ใหญ่เก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบมา" เหตุการ์นี้จึงเป็นที่มาของชื่อ หลวงปู่ไดโนเสาร์
ในบริเวณวัดได้มีการจัดนิทรรศการการแสดงความเป็นมาของการ เกิดไดโนเสาร์ยุคต่างๆ รวมทั้งรูปภาพการขุดค้นพบซากกระดูกเหล่านี้ มีอาคารแหล่งขุดค้นที่พบซากจริงของไดโนเสาร์ชนิดกินพืชจำนวนมากกว่า 700 ชิ้น สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชิ้นส่วนของไดโนเสาร์ประมาณ 7 ตัว มีภูเวียงโกซอรัส สิรินธรอยู่ด้วย แหล่งขุดค้นนี้ตั้งแต่เปิดเวลา 08.30-17.00 น. มีเจ้าหน้าที่คอยให้ข้อมูลต่างๆตลอดเวลาจึงเหมาะกับผู้ที่สนใจศึกษาทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จากรูปถ้าเราสังเกตดีๆจะเห็นว่าซากแทบจะสมบูรณ์แบบมาก ขาดเพียงส่วนหัวที่คาดว่าจะถูกย่อยสลายมีดินทับถม หรือถูกสัตว์กินเนื้อมากินไป