ค้นหาและแบ่งปันประสบการณ์การท่องเที่ยวในไทย ลงทะเบียน เข้าสู่ระบบ
 
เที่ยวย่านเมืองเก่า ส่วนผสมสถาปัตยกรรมจีนยุโรปแบบชิโน-โปรตุกีส ตึกชิโนโปรตุกีส-ภูเก็ต (Chino Potuguese Phuket Old Town) จ.ภูเก็ต
    • โพสต์-1
    theTripPacker •  ตุลาคม 04 , 2556

    ภูเก็ต ไม่ได้มีชื่อเสียงแค่สถานที่ท่องเที่ยวอย่างแหลมพันวา หาดป่าตอง หรืออาหารพื้นเมืองชื่อแปลกหู ใครที่ศึกษาข้อมูลเกาะภูเก็ตก่อนลงพื้นที่จริงย่อมเคยได้ยินคำร่ำลือถึง ย่านเมืองเก่าสไตล์ชิโน-โปรตุกีส ที่มีมนต์เสน่ห์แปลกตาแตกต่างจากที่อื่นๆ ในเมืองไทย ซึ่งตามข้อมูลบอกไว้ว่าย่านเมืองเก่าสไตล์ชิโน- โปรตุกิสเป็นตึกเก่าโบราณที่ไดรับอิทธิพลการก่อสร้างมาจากสองเมืองใหญ่แห่ง แหลมมาลายู คืออสิงคโปร์และปีนัง ที่มีกลิ่นอายของจีนผสมตะวันตกซึ่งเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย ในช่วงสมัยของรัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลที่ 7 และเมืองเก่าแห่งนี้ได้เจริญถึงขีดสุดในสมัยของพระยารัษฏานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้ ณ ระนอง)


    • โพสต์-2
    theTripPacker •  ตุลาคม 04 , 2556

    ย่านเมืองเก่าบนเกาะภูเก็ตล้วนเต็มไปด้วยตึกขนาดใหญ่ที่โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมแปลกตาทั้งรูปทรง ลวดลายปูนปั้น และป้ายชื่อร้านค้า ตัวตึกทั้งหมดเรียงรายกันอย่างเรียบร้อยสง่างาม ให้ความรู้สึกต่อผู้พบเห็นว่าเวลาเดินช้าลงจนแทบหยุดหมุนเมื่อได้มาสัมผัสสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส พูดง่ายๆ ก็คือแบบจีนปนฝรั่งนั่นเอง หากศึกษาความโดดเด่นของสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกิสให้ดีจะพบว่า แท้จริงแล้วสามารถเรียกได้หลายรูปแบบด้วยกันทั้งแบบคลาสสิค และโคโลเนียลสไตล์ ตึก โบราณเก่าแก่แห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อสมัยที่เมืองภูเก็ตมีความเจริญในการทำ เหมืองแร่ การค้าขายกับต่างชาติ และเป็นเมืองท่า อาคารที่สร้างมีลักษณะเป็นเรือนแถวสร้างด้วยปูนและอิฐแบบยุโรป ส่วนลักษณะโครงสร้างที่ได้รับมาจากจีนคือลวดลายปูนปั้นดอกไม้บนกำแพง ประตูหน้าต่างเป็นไม้ฉลุ และอีกลักษณะที่เด่นคือการสร้างบ้านที่มีลักษณะของตัวอาคารให้มีส่วนลึก มากกว่าส่วนกว้าง ตรงกลางบ้านให้ความรู้สึกสว่างโล่งด้วยหลังคาแบบเปิดให้ฝนและแสงแดดส่องลงมา ได้ ส่วนใหญ่จะทำเป็นบ่อน้ำหรือลานซักล้างโดยเรียกกันว่า “ซิมแจ้” รูปแบบอันโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งคือ บริเวณด้านหน้าอาคารจะมีทางเดินเป็นช่องโค้งรูปเกือกม้าคล้ายบ้านชาวกรี ก-โรมัน ให้คนได้เดินลอดผ่านหน้าบ้านของกันและกันเวลาฝนตกเรียกว่า “อาเขต” (Arcade) หรือที่ชาวภูเก็ตคุ้นหูกันว่า “หง่อกากี่” เห็นไหมล่ะว่าคนโบราณไม่เพียงแค่มีน้ำใจเอื้อเฝื้อให้คนเดินได้มีที่บังแดด หลบฝน แต่ยังแฝงกลอุบายให้เพื่อนบ้านของตนเกิดความสนิทชิดเชื้อต่อกัน โดยการให้เดินผ่านไปมาหน้าบ้านของตนบ่อยๆ นอกจากย่านเมืองเก่าจะโดดเด่นไปด้วยอาคารบ้านเรือนที่สวยงามแล้วที่นี่ยัง ถือว่าเป็นทำเลทองเป็นที่ตั้งของร้านอาหาร คอฟฟี่ชอปแสนเก๋ไก๋ แกลอรี่อาร์ต และเกสต์เฮ้าส์สุดเท่ พร้อมต้อนรับเหล่าแบ็คแพ็กเกอร์ด้วยรอยยิ้มและไมตรีจิตแบบคนใต้ชาวเกาะ

    • โพสต์-3
    theTripPacker •  ตุลาคม 04, 2556
    • โพสต์-4
    theTripPacker •  ตุลาคม 04 , 2556

    ตึกโบราณสไตล์ชิโน-โปรตุกีส เหล่านี้ มีให้เห็นกันอยู่ในหลายถนนบริเวณย่านเมืองเก่า ปัจุบันพบเห็นตึกเหล่านี้ได้ที่ถนนถลาง ซึ่งมีร้านอาหารต้นตำรับภูเก็ตอย่าง ร้านวิไล“ร้านโกปี้เตี่ยม” และ "ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑” อีกยังมีร้านขายเสื้อผ้าชุดพื้นเมืองของชาวมุสลิมและจีน รวมถึงซอยรมณีย์ เป็นย่านตึกแถวเก่าแก่และมีเกสต์เฮ้าส์สุดเท่อย่าง Phuket 346 ทางด้านถนนพังงาอยากให้ลองแวะชมความโดดเด่นของตึกโบราณธนาคารนครหลวงไทยซึ่งเป็นธนาคารแห่งแรกในเกาะภูเก็ตที่มีอายุยาวนานกว่า 100 ปี และโรงแรมออนออนที่สวยงามอย่างคลาสสิค อันเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์มาแล้วหลายเรื่อง และร้านกาแฟ “Kaffe' Phuket” ที่โดดเด่นในเรื่องการตกแต่งร้าน 


    • โพสต์-5
    theTripPacker •  ตุลาคม 04 , 2556

    เลาะตะลอนๆ มาเรื่อยๆ จนถึงถนนกระบี่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนภูเก็ตไทยหัวโรงเรียนสอนภาษาจีนแห่งแรกในเกาะภูเก็ต อันมีความสวยงามของสถาปัตยกรรม อีกทั้งปัจจุบันได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์ได้เข้าไป เยี่ยมชมในราคาย่อมเยา ในถนนเส้นเดียวกันนี้ก็มีร้านอาหารไทยอร่อยๆ สุดคลาสสิกอย่าง “Blue Elephant” อีกด้วย  ถัดมาไม่ไกลกันนักมาถึงถนนดีบุกตัดกับถนนเยาวราช ถนนสองเส้นนี้ถือเป็นไฮไลท์ของย่านเมืองเก่าเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญๆ หลายแห่งซึ่งยังคงความงดงามอยู่จนปัจจุบัน อย่างตึกเก่าบริษัทเอกวานิช และตึกเก่าบริษัทเกี๊ยนหงวน (ร้านกาแฟพีเรร่า) และร้านอาหารพื้นเมืองภูเก็ตรสดั้งเดิมอย่าง “ร้านระย้า” ที่นักท่องเที่ยวหลายคนแวะหยุดถ่ายภาพเป็นที่ระลึก บางคนถึงกับจำกัดความที่แห่งนี้ไว้ว่า “แลนด์มาร์คของเมืองเก่า” กันเลยทีเดียว บริเวณใกล้ๆ ยังมี "ร้านอาหารพื้นเมืองลกเที้ยน" ซึ่งได้รวบรวมอาหารพื้นเมืองภูเก็ตหากินยากให้ได้นั่งพักนั่งกิน อย่างเช่น โลบะ หมี่ผัดฮกเกี๊ยน หรือแม้กระทั่งขนมหวานอย่าง “โอ๊เอ๋ว” และ “อาโป๊ง” ก็มีให้กินในบริเวณใกล้ๆร้านอีกด้วย

    • โพสต์-6
    theTripPacker •  ตุลาคม 04, 2556
    • โพสต์-7
    theTripPacker •  ตุลาคม 04 , 2556

    ถนนเหล่านี้ในส่วนของภาครัฐและเอกชนล้วนให้ความสำคัญ ร่วมกันอนุรักษ์และพัฒนาให้ถนนและตึกเก่ามีสภาพสมบูรณ์ พร้อมออกกฏหมายห้ามผู้ใดรื้อถอนปลูกสร้างใหม่พร้อมยังจับเสาไฟฟ้าที่ระโยง ระยางอันเป็นสิ่งมหัศจรรย์ไทยแลนด์ยัดลงใต้ดินให้ดูเรียบร้อยสบายตาเผยให้ เห็นความสวยงามของตึกชัดเจนมากขึ้น ย่านเมืองเก่าจึงถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งแห่งความภาคภูมิใจและหวงแหนของชาว ภูเก็ตมายาวนานโดยตลอด ใครหลายคนที่มีโอกาสได้มาชมเมืองเก่าแห่งนี้แล้ว คงจะเห็นและเกิดความสะท้อนใจนึกถึงความภูมิใจในถิ่นฐานของตนเองได้อย่างดีที เดียว หรืออย่างน้อยๆ เราในฐานะคนไทยควรช่วยกันฟื้นฟูและรักษาเอกลักษณ์อันดีงามทางวัฒนธรรมเอาไว้ แม้จะเพียงเรื่องเล็กน้อยก็ตาม อย่าให้นักท่องเที่ยวที่มาเมืองไทยออกจาสนามบินแล้วตรงดิ่งไปยังแสงสีแห่ง ความศิวิไลซ์เพียงอย่างเดียว ในเมื่อเมืองไทยของเรามีของเก่าของดีอยู่แล้ว ร่วมกันหยิบของเก่าเก็บมาปัดฝุ่นให้ใหม่แล้วภูมิใจที่จะนำเสนอกันเถอะ


    • โพสต์-8
    theTripPacker •  ตุลาคม 04 , 2556

    Note

    จุดที่น่าสนใจที่เหมาะแก่การถ่ายภาพและเยี่ยมชม

    ถนน ถลาง : -อาคารตึกแถวเก่าซอยรมณีย์,ร้านหนัง (สือ) ๒๕๒๑,ร้านอาหารโกปี้เตี่ยม By วิไล ,ร้านอาหารหลาดใหญ่,บ้านพระอร่ามสาครเขต

    ถนนพังงา : -ธนาคารนครหลวงไทย,ร้านกาแฟ Kaffe' Phuket, โรงแรมออนออน

    ถนนกระบี่:-พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว, ร้านอาหาร Blue Elephant, คฤหาสน์พระพิทักษ์ชินประชา, บ้านคุณประชา, โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว

    ถนนดีบุกตัดกับถนนเยาวราช:-บ้านหลวงอำนาจนรารักษ์, อาคารบริษัทเกี้ยนหงวน ( ร้านกาแฟพีเรร่า ) , อาคารบริษัทเอกวานิช, อาคารสมาคมภูเก็ตฮกเกี้ยนสามัคคี

    • โพสต์-9
    theTripPacker •  ตุลาคม 04, 2556

    ความคิดเห็นของผู้เขียน

    • จุดเด่น:
    • การสร้างที่อยู่อาศัยของบรรพบุรุษชาวภูเก็ต ที่มีกลิ่นอายของความเป็นจีนและตะวันตก จนกลายมาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของจังหวัด
    • จุดด้อย:
    • น่าจะอยู่ตรงการปรับเปลี่ยนร้านค้าบางร้านจากเดิมที่เก่าแก่ ให้ทันสมัยจนขาดเสน่ห์เฉพาะตัวไปโดยสิ้นเชิง
    • ข้อสรุป:
    • ย่านเมืองเก่าภูเก็ตยังคงความเป็นเอกลักษณ์มาทุกยุคสมัย แม้จะเป็นการอยู่ร่วมกันของคนหลายเชื้อชาติ หากที่นี่ก็ยังไม่เคยมีปัญหาให้เห็น อาจเพราะความภาคภูมิใจในท้องถิ่นที่อยู่ของชาวภูเก็ต ทำให้ผู้คนที่นี่ร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์เมืองเก่าและวัฒนธรรมเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เห็นต่อไป
    คะแนน
    • โพสต์-10
    theTripPacker •  ตุลาคม 04 , 2556

    ข้อมูลทั่วไป

    ที่อยู่ : ถนนถลาง, ซอยรมณีย์, ถนนกระบี่,  ถนนพังงา, ถนนดีบุก, ถนนเยาวราช, ถนนภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000

    ช่วงเวลาแนะนำ : ตลอดทั้งวัน

    กิจกรรม : ชมและสัมผัสบรรยากาศเมืองเก่า, ดื่มกาแฟ และชิมรสอาหารพื้นเมือง

  1. โหลดเพิ่ม