หลังจากที่กลับเข้าห้องพักเมื่อวาน ด้วยความเพลียพอหัวถึงหมอนได้ผมก็หลับไปอย่างรวดเร็ว เช้านี้ผมตื่นมาเวลาประมาณตีสี่กว่าๆ จึงรีบอาบน้ำและแต่งตัว หาอะไรรองท้องเป็นพวกนมและขนมปังที่ซื้อมาจาก 7-11 เมือวาน จากนั้นจึงรีบขับรถมอเตอร์ไซค์ไปยัง ปราสาทหินพนมรุ้ง เพื่อชมพระอาทิย์ขึ้น (ค่าเข้าชม 20 บาท แต่ถ้าเข้าชมปราสาทหินเมืองต่ำด้วยจะอยู่ทราคา 30 บาท ซึ่งผมเลือกเข้าชมทั้งสองสถานที่ครับ)
ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่บนเขาพนมรุ้ง โดยมีรูปแบบของศิลปะเขมรโบราณ ความงดงามและความยิ่งใหญ่ของปราสาทแห่งนี้ปรากฏให้เห็นได้ในรูปของงานสถาปัตยกรรม การจำหลักลวดลายการเลือกทำเลที่ตั้งบนยอดเขามีแผนผังตามแนวแกนที่มีองค์ประกอบของสิ่งก่อสร้าง ต่าง ๆ เรียงตัวกันเป็นแนวเส้นตรงพุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลาง คือ ปราสาทประธาน จากงานก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่นี้ ชวนให้เกิดความสงสัยและอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าคนในสมัยโบราณสร้างปราสาทหลังนี้ขึ้นมาได้อย่างไร?

ผมเดินทางมาถึงปราสาทหินพนมรุ้งประมาณ 6:00 น. มาทันชมพระอาทิตย์ขึ้นพอดี จึงหยิบกล้องมาถ่ายภาพเก็บไว้

เมื่อพระอาทิตย์เคลื่อนตัวสูงขึ้นเรื่อยๆผมจึงถือโอกาสเดินชมรอบๆปราสาท
ทางเดินสู่ปราสาท


วันที่ผมไปก็มีนักท่องเที่ยวมาตอนเช้าหนึ่งกลุ่ม พอถ่ายรูปและเดินชมสักพักก็กลับกันไป ทำไห้ตอนนี้ปราสาทเหลือแค่เพียงผมและน้องหมาตัวนี้

ด้านหน้าปราสาทจะมีสระบัวเล็กๆอยู่ 4 บ่อ ตอนเช้าๆแบบนี้ดอกบัวบานสะพรั่งสวยดีครับ


ผมก็เดินถ่ายรูปเพลินๆไปเรื่อยๆ

ระหว่างนั้นก็เริ่มมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทยอยเข้ามาเช่นเดียวกันครับ




15 ช่องบานประตู ของปราสาทหินพนมรุ้ง
ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 บาน ณ เขาพนมรุ้ง สามารถชมได้ทั้งหมด 4 ช่วงใน 1 ปี สามารถเริ่มต้นชมพระอาทิตย์ตกในวันที่ 6-8 มีนาคม และวันที่ 6-8 ตุลาคม ของทุกปีจุดที่สามารถดูได้คือด้านหน้าปราสาทหินพนมรุ้ง และหากจะดูพระอาทิตย์ขึ้นต้องช่วงในวันที่ 3-5 เมษายน และวันที่ 8-10 กันยายน ของทุกปีจุดที่สามารถดูได้คือด้านหลังปราสาทหินพนมรุ้ง

ที่เห็นนี่คือภาพสลัก ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ครับที่ได้คืนมาจากสถาบันศิลปะแห่งชิคาโก และได้นำเอาทับหลังชิ้นนี้กลับไปติดตั้งยังที่เดิม ณ องค์ปราสาทพนมรุ้ง ในวันที่ 7 ธันวาคม 2531
เป็นภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ โดยพระนารายณ์บรรทมตะแคงขวา เหนือ พระยาอนันตนาคราช ซึ่งทอดตัวอยุ่เหนือมังกรอีกต่อหนึ่งท่ามกลางเกษียรสมุทรมีก้านดอกบัวผุด ขึ้นจากพระนาภีของพระองค์ มีพระพรหมประอยู่เหนือดอกบัวนั้น พระนารายณ์ทรงถือ คฑา สังข์ และจักรไว้ในพระหัตถ์หน้าซ้าย พระหัตถ์หลังซ้ายและพระหัตถ์หลังด้านขวาตามลำดับ ส่วนพระหัตถ์หน้า ขวา รอบรับพระเศียรของพระองค์เองทรงมงกุฏรูปกรวยกภณฑล กรองศอ และทรงผ้าจีบเป็นริ้วมีชายผ้ารูปหาปลาซ้อนกันอยู่ 2 ชั้นด้านหน้าคาดด้วยสายรัดพระองค์มีอุบะขนาดสั้นห้อยประดับ มีพระลักษณ มีชายาพระองค์ประทับนั้นอยู่ตรงปลายพระบาท สำหรับพระพรหมซึ่งประทับเหนือดอกบัวนั้น มีสี่พักตร์ สี่กร ถัดจากองค์พระนารายณ์มาทางซ้ายบริเวณเลี้ยวของทับหลัง มีรูปหน้ากาลคายพวงอุบะขนาดใหญ่ เหนือหน้ากาลมีรูปครุฑใช้มือยึดนาคไว้ข้างละต้นนอกจากนี้ยังปรากฏรูปสัตว์อื่น ๆ ได้แก่ นกแก้ว ลิง และนกหัสดีลิงก์คาบช้างอยู่ด้วย การบรรทมสินธุ์ของพระนารายณ์นั้น คือการบรรทมในช่วงการสร้างโลก การบรรทมแต่ละครั้งนั้นจะเกี่ยวกับยุคเวลาในแต่ละกัลป์ภาพทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ที่ปราสาทพนมรุ้งนี้คงได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์วราหปุราณะ เป็นคัมภีร์ที่ให้ความสำคัญแก่พระนารายณ์เป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่ในขณะที่พระนารายณ์กำลังบรรทมอยู่นั้นได้ทรางสุบินขึ้นจากพระนาภี บนดอกบัวได้บังเกิดพระพรหม และพระพรหมทรงเป็นผู้สร้างมนุษย์ และสิ่งต่าง ๆ
ด้านบน ภาพสลักนารายณ์บรรทมสินธุ์ จะเป็นภาพสลักพระศิวะนาฏราชครับ
ภาพสลักพระศิวะนาฏราช ที่บริเวณหน้าบันด้านทิศตะวันออกของมณฑปปราสาทประธานเป็นภาพจำหลักพระศิวะนาฏราช หรือพระศิวะทรงฟ้อนรำ เป็นภาพพระศิวะเศียรเดียว สิบกร อยู่ในท่าฟ้อนรำ แวดล้อมด้วยบุคคล โดยบุคคลที่อยู่ทางซ้ายมือสุดของพระศิวะ คือ พระคเณศ โอรสของพระองค์ ถัดมาน่าจะได้แก่ พระวิษณุ พระพรหม ตามลำดับ และมีภาพเทวสตรี 2 องค์อยู่ทางด้านขวาตามความเชื่อในศาสนาฮินดูจังหวะการ่ายรำของพระศิวะอาจะบันดาลให้เกิดผลดีและผลร้ายแก่โลกได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสวดอ้อนวอนให้พระองค์ฟ้อนรำในจังหวะที่พอดี โลกจึงจะสงบหากพระองค์โกระกริ้วฟ้อนรำในจังหวะที่รุนแรง จะนำมาซึ่งภัยพิบัติต่าง ๆ
เดินชมความงดงามของสถาปัตยกรรมไปสักพัก นักท่องเที่ยวก็เริ่มทยอยเดินทางมาชมความงามของสถาปัตยกรรมเช่นเดียวกับผมแล้วครับ ผมจึงตัดสินใจเดินทางไปที่ปราสาทเมืองต่ำต่อครับ
หมายเหตุ : เนื่องจากปราสาทหินพนมรุ้งค่อนข้างกว้างขวาง และมีความงดงามทางสถาปัตยกรรมอยู่มาก แต่ผมไม่สามารถนำทุกภาพมารีวิวทั้งหมดได้ครับ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ