จังหวัด
สถานที่
ภาคเหนือ
แพร่
น่าน
เชียงใหม่
เชียงราย
ลำพูน
ลำปาง
พะเยา
อุตรดิตถ์
แม่ฮ่องสอน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ร้อยเอ็ด
ยโสธร
เลย
มุกดาหาร
มหาสารคาม
ศรีสะเกษ
สกลนคร
บุรีรัมย์
นครราชสีมา
นครพนม
หนองบัวลำภู
บึงกาฬ
อุบลราชธานี
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
อุดรธานี
อำนาจเจริญ
ชัยภูมิ
หนองคาย
สุรินทร์
ภาคกลาง
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อ่างทอง
สุโขทัย
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
อุทัยธานี
สมุทรสาคร
สระบุรี
เพชรบูรณ์
กรุงเทพมหานคร
นครนายก
พิษณุโลก
พิจิตร
นครปฐม
กำแพงเพชร
นครสวรรค์
นนทบุรี
ชัยนาท
พระนครศรีอยุธยา
ปทุมธานี
ภาคตะวันออก
ตราด
สระแก้ว
ชลบุรี
ปราจีนบุรี
ฉะเชิงเทรา
จันทบุรี
ระยอง
ภาคตะวันตก
ประจวบคีรีขันธ์
ราชบุรี
กาญจนบุรี
เพชรบุรี
ตาก
ภาคใต้
ชุมพร
ตรัง
ภูเก็ต
กระบี่
สุราษฎร์ธานี
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
สตูล
สงขลา
ปัตตานี
พังงา
ระนอง
พัทลุง
ยะลา
สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
อาหาร
ที่พัก
กาแฟ ชาและเบเกอรี่
บาร์, คลับและสีสันยามค่ำคืน
กิจกรรมครอบครัว
ศาสนสถานและ สถานที่ทางประวัติศาสตร์
กิจกรรมกลางแจ้ง
ตลาดและห้างสรรพสินค้า
แกลลอรี่และพิพิธภัณฑ์
ทัวร์ คอร์ส และ บริการให้เช่า
สุขภาพ ความงาม และสปา
เทศกาล
สถาปัตยกรรมและสิ่งปลูกสร้าง
Search
ทั้งหมด
ทั้งหมด
รีวิว
ค้นหาและแบ่งปันประสบการณ์การท่องเที่ยวในไทย
ลงทะเบียน
เข้าสู่ระบบ
Pote' Entaneer
287
72
26
ติดตาม
ผู้ติดตาม
27
|
กำลังติดตาม
6
ไทม์ไลน์
เช็คอิน
รีวิว (38)
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่
พระเจดีย์หลวง เริ่มสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1934 สมัยพญาแสนเมืองมา สมัยพญาติโลกราช โปรดให้สร้างเสริมให้มีส่วนสูง 80 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้าง ด้านละ 56 เมตรปรับรูปทรงเป็น แบบโลหะปราสาทของลังการูปลักษณ์ทรงเจดีย์แบบพุกาม ดัดแปลงซุ้ม ตรงสี่มุมของมหาเจดีย์ มีรูปปั้นช้างค้ำรายล้อมรอบองค์เจดีย์หลวงนั้นมี 28 เชือก การสร้างรูปปั้น ช้างนั้น เป็นการส่งเสริมกำลังเมืองในทางด้านไสยศาสตร์เพื่อให้เมืองมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ในจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์ ลำดับ ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างในปี พ.ศ. 1928-พ.ศ. 1945 วัดเจดีย์หลวงเป็นพระอารามหลวงแบบโบราณ มีการบูรณะมาหลายสมัย โดยเฉพาะพระเจดีย์ ที่ปัจจุบันมี ขนาด ความกว้างด้านละ 60 เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในเชียงใหม่ วัดเจดีย์หลวงสร้าง อยู่กลางใจ เมืองเชียงใหม่ ซึ่งแต่เดิมถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการปกครองของอาณาจักรล้านนา
พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ หรือที่มักเรียกกันว่า อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ไทย 3 พระองค์ ผู้สร้างเวียงเชียงใหม่ คือ พญามังราย พญางำเมือง และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ตั้งอยู่กลางเวียงเชียงใหม่ บริเวณหน้าหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ (ศาลากลางเก่าจังหวัดเชียงใหม่) ด้านหน้าติดกับถนนพระปกเกล้า ซึ่งบริเวณนี้เอง ถือเป็นศูนย์กลางของตัวเมืองเชียงใหม่ หน้าอนุสาวรีย์มีลานกว้างขนาดใหญ่ เรียกว่า "ข่วงสามกษัตริย์" หรือ "ข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์" ด้านตรงข้ามของอนุสาวรีย์ ยังเป็นที่ตั้งของอาคารศาลแขวงเชียงใหม่เดิม ซึ่งมีสถาปัตยกรรมตะวันตกที่งดงาม
น้ำทิพย์เจือโลหิต ของสามกษัตริย์ตรา ฮ่วมดื่มน้ำสัตยา ทรงทำสัตย์ปฏิญาณ ฮื่อลูกหลาน ได้สุข ฮ่มเย็น พญามังรายเจ้า พ่อขุนรามคำแหง พ่อพญางำเมือง ฮ่วมสร้างเวียงธานี นพบุรี ศรีนครพิงค์ ฮื่อละเว้นก๋านศึกสงคราม ผูกไมตรีปรองดอง เชียงแสนเขลาง สุโขทัย หริภุญชัย พะเยา เวียงกุมกาม แว่นแคว้นแดนล้านนาไทย สืบเจ่นไป ใต้ธงสยาม กู้สายน้ำแม่ปิงงาม เจ็ดร้อยกว่าเข้ายาม เลิศล้ำ ล้านนาไทย
ราวปี พ.ศ.1999 พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ลำดับที่ 11 ของอาณาจักรล้านนาไทย โปรดฯ ให้หมื่นด้ามพร้าคตเป็นนายช่างทำการก่อสร้างอารามขึ้น แล้วโปรดฯ ให้ปลูกต้นมหาโพธิ์ในบริเวณพระอารามแห่งนั้น เพราะเหตุที่มีต้นมหาโพธิ์อยู่ในวัด จึงปรากฏชื่อว่า “วัดโพธารามมหาวิหาร” เจ้าอาวาสองค์แรกคือ พระโพธิรังสีมหาเถระ ผู้ตนนาคัมภีร์จามเทวีวงศ์
เจดีย์เจ็ดยอด เป็นโบราณสถานที่สำคัญที่สุดของวัด เชื่อว่าถ่ายแบบมาจากมหาโพธิเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย สร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 19-20 เมื่อ พ.ศ.2020 พระเจ้าติโลกราชโปรดฯ ให้จัดการประชุมพระเถรานุเถระทั่วทุกหัวเมืองในอาจักรล้านนา และทรงคัดเลือกได้พระธรรมทิณ เจ้าอาวาสวัดป่าตาล ผู้จัดเจนในพระบาลีเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระองค์ทรงเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ ทำการสังคายนาพระไตรปิฎก ณ วัดนี้ใช้เวลาปีหนึ่ง จึงสำเร็จ เป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งใหญ่ลำดับที่ 8 โดยทำมาแล้วทั้งในอินเดียและศรีลังการวมเจ็ดครั้ง และเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ลายปูนปั้น บนผนังด้านนอกองค์เจดีย์เจ็ดยอดมีงานประติมากรรมปูนปั้น เป็นภาพเทพยดานั่งขัดสมาธิเพชร ประนมหัตถ์อยู่กลางพระอุระ กับภาพเทพดาพนมมือยืน ทรงเครื่องภษาภรณ์ อันเป็นสมัยนิยมในหมู่ชนชั้นสูงสมัยโบราณ สวมเครื่องศิราภรณ์ทรงเทริด มีทั้งแบบทรงสูงและทรงเตี้ย สังเกตบนยอดศิราภรณ์ประดิษฐ์ด้วยลายวิจิตรแตกต่างกันไปในแต่ละองค์ เช่น ลายกระจับ ลายดอกบัว ลายหน้ากาล ลายดอกไม้ ฯลฯ เป็นที่น่าชมยิ่ง บนพื้นผนังเป็นลายดอกไม้ร่วงคล้ายลายถ้วยชามสมัย ราชวงศ์เหม็งของจีน นอกจากนี้ยังมีลายประดับหัวเสาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา แม้พม่ายังรับเอาไปและเรียกกว่า “ลายเชียงใหม่”
เจดีย์ช้างล้อม เป็นเจดีย์รูปทรงสถาปัตยกรรมล้านนาฐานช้างล้อม องค์เจดีย์ผสมสี่เหลี่ยมและทรงกลมเปิดทองจังโก สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1840ครั้งพญามังรายสถาปนาวัดเชียงมั่น และได้รับการบูรณะซ่อมแซมจากผู้ครองนคเชียงใหม่สืบมา กรมศลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วเมื่อ พ.ศ. 2478
วัดเชียงมั่น พุทธศาสนสถานอีกหนึ่งแห่ง ที่ถือได้ว่ามีความสำคัญสำหรับชาวเชียงใหม่เป็นอย่างยิ่ง วัดที่เก่าแก่ที่ สุดในตัวเมืองเชียงใหม่และถือเป็นวัดแห่งแรกในเขตกำแพงเมือง เมื่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้น เมื่อปี พ.ศ.1839 พระองค์ทรงยกพระตําหนักที่ประทับชื่อ ตําหนักเชียงมั่นถวายเป็นพระอารามใหม่ชื่อว่า วัดเชียงมั่น วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปสําคัญของเชียงใหม่ คือ พระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวเชียงใหม่นอกจากวัดเชียงมั่นจะมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของ เมืองเชียงใหม่ ในฐานะที่เป็นพระอารามหลวงแห่งแรกในเขตกำแพงเมืองแล้ว เมื่อถึงเทศกาลสลากภัตร หรือ ทานก๋วยสลาก จะมีการทานข้าวสลากที่วัดนี้ก่อนแล้วจึงจะทำที่วัดอื่น ๆ ต่อไป ในสมัยพญามังราย วัดเชียงมั่น ยังเป็นศูนย์กลางการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกด้วย นอกจากนี้ วัดเชียงมั่นเป็นสถานที่รวบรวมโบราณ วัตถุ จำนวนมาก ซึ่งอาคารเสนาสนะและปูชนียวัตถุของวัดเชียงมั่นประกอบไปด้วย วัดเชียงมั่นมี สถาปัตยกรรม สําคัญ ได้แก่ เจดีย์สี่เหลี่ยมผสมทรงกลม ฐานช่างล้อม พระอุโบสถและหอไตร
Facebook
ยินดีต้อนรับเข้าสู่
ค้นหาและแบ่งปันประสบการณ์
การท่องเที่ยวในไทย
เข้าสู่ระบบด้วย Facebook
หรือ