คำบรรยายภาพ
สมัยเรียน ป.ตรี ด้วยความอยากรู้เรื่องศิลปะในเมืองไทย ผสมกับการอยากมีแบบบ้านเป็นของตัวเอง เลยไปเจอหนังสือเล่มหนึ่งเข้า
.
ในนั้นเล่าว่าบ้านเรือน (คน) ไทย มีและได้รับอิทธิพลทางศิลปะมาหลายอย่าง ไม่ว่าจะฉลุลาย เรือนปั้นหยา หลบมุม ขนมปังขิง ฯลฯ
.
แต่มีบทหนึ่งที่ว่าด้วย "โดม" ผู้เขียนเป็นอาจารย์ที่วังท่าพระ เล่าว่า ได้ยินแต่เขาเรียกกันว่า "โดมธรรมศาสตร์" ก็ได้แต่ฉงน ไหงไปเรียกว่าโดม ทั้ง ๆ ที่นั่นมันคือ ศิลปะแบบโกธิค ถ้าโดมต้องหัวลำโพงแบบนั้น
.
ศิลปะแบบโกธิค คือ อาคารที่มีเรือนยอดปลายแหลม เอาที่ใคร ๆ เคยเห็น ก็คงจะเป็น โบสถ์แม่พระปฏิสนธินิรมล ที่จันทบุรี ถ้าฝั่งธนฯ ก็โบสถ์ซางตาครู๊ส (แถวนั้นขนมฝั่งกุฎีจีนอร่อย)
.
วัดนิเวศธรรมประวัติ ที่บางปะอินนี้ก็เช่นกัน ไม่ใช่โบสถ์คริสต์ที่ไหน แต่เป็นวัดพุทธ ที่สำคัญเป็นธรรมยุติด้วย (อยู่แบบพระป่า ฉันมือเดียว) ร.5 ท่านสร้างไว้คู่กับพระราชวังบางปะอิน กระจกประดับถ้ามองจากในตัวอาคารจะเป็นรูป ร.5 (กระจกนำเข้าจากอิตาลี)
.
ไม่รู้ทำไมรู้สึกผูกพันกับวัดนี้ ครั้งหนึ่งนั่งรถไฟมาเพื่อจะหาวัดบวชได้แต่คิดในใจว่าอยากแต่ญาติ ๆ คงจะเดินทางลำบาก ก็ไปดูพร้อมกับตัดใจไปตั้งแต่ต้น และรู้สึกถูกชะตากับวัดนี้เลยลองมา พอดีได้เจอท่านเจ้าคุณฯ ท่านสบตาแล้วก็บอกว่า "ถ้าจะบวชก็บวชวัดนี้แหละ"
.
นึกถึงคำพูดของ อ.ประมวล เพ็งจันทร์ ที่ท่านเล่าเรื่องปรากฎการณ์วิทยาแห่งชีวิต ไว้ว่า " .. เป็นความผูกพัน ที่ผมรู้ว่าผมผูกพันกับคนที่ไม่รู้จัก ได้จริง ๆ .. "
.
อย่าได้ถามเลย ว่าชอบหรือ? ทำไมมาวัดนี้บ่อย? ถ้าเห็นอะไร ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ประจำเนือง ๆ .. ถ้าชอบก็คือใช่ และก็จะทำมันอยู่อย่างนั้น
ความคิดเห็น