ชายใหญ่พาชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์
สวัสดีครับ นี่เป็นการเขียนรีวิวสถานที่ท่องเที่ยวครั้งแรกของผม โดยจะพาทุกท่านไปเยี่ยมชม 1 ใน 2 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในจังหวัดนครราชสีมานะครับ
นั่นคือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ที่อยู่ ถนนราชดำเนิน ในเมือง เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา 30000
เปิดทำการ 09.00 – 16.00 น. วันพุธ-วันอาทิตย์ หยุดวันจันทร์-อังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม คนไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 15 บาท นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบไม่เสียค่าเข้าชม
ใช่ครับ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเลยก็ว่าได้ เพราะเดินจากอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีไปทางทิศใต้ไม่กี่เมตรเอง และตัวอาคารที่จัดแสดงจะอยู่ในเขตของวัดสุทธจินดาครับ
บริเวณด้านหน้าทางเข้า จะเป็นหอสมุดแห่งชาติ เราต้องเดินเข้าไปอีก ก็จะเจอตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ครับ
จากที่เคยไปพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติต่างๆมาแล้ว รู้สึกว่า ที่นี่จะมีพื้นที่น้อยกว่าที่อื่นครับ เป็นตัวอาคารชั้นเดียว ผมกะขนาดเอาว่าใหญ่กว่าห้องเรียน 1 ห้องนิดหน่อยครับ
วันที่ผมไปคือ วันเสาร์ ที่นี่เงียบมากๆครับ นอกจากผมกับเพื่อนก็ไม่เห็นใครอีกเลย (เช็คอินใน Facebook ก็น้อยมาก) เราจ่ายเงินค่าเข้าชมกับคุณลุงที่นั่งอยู่หน้าทางเข้า แล้วเข้ามา จะเห็นป้ายประวัติพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) และประวัติพิพิธภัณฑ์แห่งนี้อยู่ทางฝั่งซ้าย ด้านขวามือจะเป็นเคาท์เตอร์บริการกับแผ่นพับความรู้แจกฟรีครับ
สิ่งของที่จัดแสดง ส่วนใหญ่จะขุดพบในเขตจังหวัดนครราชสีมา และเป็นของพระมหาวีรวงศ์ประทานให้ จึงเป็นที่มาของชื่อพิพิธภัณฑ์ครับ
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา ได้มอบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่รวบรวมไว้ให้กับกรมศิลปากร เมื่อปีพุทธศักราช 2470 เพื่อศึกษา จัดแสดง และเผยแพร่มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา พุทธศักราช 2497 กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานขึ้น ในบริวเณพื้นที่ของวัดสุทธจินดา ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และเปิดบริการให้ประชาชนเข้าชมอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2497
(ที่มา : บอร์ดประวัติพิพิธภัณฑ์ ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์)
ได้ทราบประวัติของผู้รวบรวม และประวัติของพิพิธภัณฑ์ไปแล้ว คราวนี้เราจะมาดูกันนะครับ ว่ามีอะไรน่าสนใจในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้บ้าง
พระพุทธรูปและเทวรูป : องค์แรก(ซ้าย) เป็นศิลปะอยุธยา ทำจากหินทราย , องค์ที่สอง (ซ้าย) ศิลปะลพบุรีครับ
องค์ทางขวา(บนไปล่าง) เป็น ศิลปะทวารวดี พบที่อำเภอโนนไทย นครราชสีมา , พระพุทธรูปไม้ศิลปะรัตนโกสินทร์ , พระพุทธรูปศิลปะอยุธยา ครับ (เท่าที่จำได้)
จากซ้ายไปขวา : พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะรัตนโกสินทร์ > พระพุทธรูปปางมารวิชัยบุเงิน ศิลปะรัตนโกสินทร์ > พระพุทธรูปปางปาลิไลก์ ศิลปะอยุธยา
ประติมากรรมอื่นๆ
ศิลาจารึก : (ซ้าย) ภาษาสันสกฤตเขียนด้วยอักษรปัลลวะ (ขวา) จารึกปราสาทเมืองแขก อักษรขอม
นั่นคือ พระราชอาส์นที่ประทับ นั่นเอง
พระราชอาส์นนี้เคยใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาแล้ว 3 รัชกาล เมื่อคราวเสด็จประพาสเมืองนครราชสีมา คือ
1. รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชชนนี เสด็จมาทำพิธีเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา พ.ศ.2443
2. รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ พิธีฉลองโล่ห์กองทหารม้า พ.ศ.2446
3. รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ คราวเสด็จประพาสเมืองนครราชสีมา พ.ศ.2498
พระราชอาส์นนี้ ทางจังหวัดนครราชสีมามอบให้ทางพิพิธภัณฑ์เก็บรักษาเมื่อปี 2499 ครับ โดยมีรูปของในหลวงและพระราชินีอยู่บนโต๊ะด้วย
สำหรับรีวิวการท่องเที่ยวครั้งแรกของผม ก็ขอจบการรีวิวไว้เพียงเท่านี้ ถ้ามีเวลา คงจะได้มารีวิวสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆแบบนี้อีก ขอบคุณครับ ^^
- ชายใหญ่
Facebook : ชายใหญ่ THE MEMORY
CAMERA : Nikon D5100 + Lens Nikon 50 mm F1.8D / Fuji Film Finepix HS35 Exr