บ้านอีต่อง ตำบลปิล็อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

          เมื่อประมาณ 70 กว่าปีก่อน ในช่วงการล่าอาณานิคม ขณะนั้นประเทศพม่าได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ มีชาวพม่าจำนวนหนึ่งได้เข้ามาหาแร่วุลแฟรม และดีบุก เพื่อนำไปขายต่อให้กับทหารอังกฤษ เอาไปผลิตอาวุธ ยุทโธปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการสงคราม ว่ากันว่ามีนายพรานฝั่งไทย 2 คน คือพรานไผ่ และพรานผาแป เข้าไปตามรอยกระทิงในป่า แล้วไปเจอชาวพม่ากำลังขุดหาแร่อยู่ จึงนำเรื่องไปแจ้งทางการไทย เมื่อปี พ.ศ. 2481 กรมโลหกิจ องค์การเหมืองแร่ ในหน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรมในสมัยนั้น จึงได้เข้ามาสำรวจสายแร่ในบริเวณปิล๊อกนี้ พบว่าแถวนี้มีสายแร่ดีบุกและแร่วุลแฟรมอยู่มาก รวมถึงมีแร่ทังสะเตน และสายแร่ทองคำปะปนอยู่ด้วย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 องค์การเหมืองแร่ จึงได้จัดตั้งเหมืองแร่แห่งแรกขึ้นในตำบลปิล๊อก หลังจากนั้นก็เปิดให้สัมปทานแก่นักลงทุนเอกชน จนทำให้มีเหมืองแร่เกิดขึ้นมากมายราวดอกเห็ดราวๆ 50-60 แห่ง ทั้งเหมืองขนาดเล็กและใหญ่ รวมถึงเหมืองเถื่อน และการแอบลอบขุดนำไปขายของชาวบ้าน ในขณะนั้นเองก็ยังมีชาวพม่าจำนวนหนึ่งเข้ามาขุดแร่เพื่อนำไปขายให้แก่อังกฤษ ซึ่งทำให้ทางการไทยต้องเข้าปราบปราม ต่อสู้กัน จนมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก รวมถึงการขุดอุโมงค์เพื่อเข้าไปหาแร่บนภูเขานั้น มีอันตรายมากมาย ทั้งเกิดอุโมงค์ถล่ม หินถล่ม ไข้ป่า มาเลเรีย ทำให้คนงานเหมืองเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ว่ากันว่าชื่อเหมืองปิล๊อกนี้ เป็นคำที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "เหมืองผีหลอก" เพราะมีคนตายมากมาย และเมื่อคนงานพม่าเรียกต่อๆ กันไป จึงเพี้ยนเป็น "เหมืองปิล๊อก"

ช่วงยุคทองของการค้าแร่ ถือได้ว่ารุ่งเรืองมาก จนครั้งนึงประเทศไทยกลายเป็นแหล่งผลิตดีบุกที่สำคัญของโลก ประมาณปีพ.ศ. 2527-2528 ความรุ่งโรจน์ของการขุดแร่ได้จบลง เมื่อจีนได้ปล่อยดีบุกจำนวนมากออกขายในราคาถูก ราคาแร่ดีบุกจึงเข้าสู่วิกฤตการณ์เลวร้าย ตกต่ำอย่างรุนแรง ทั้งยังมีเทคโลยีการผลิตพลาสติกเข้ามาแทน ทำให้การใช้ดีบุกลดลง เหมืองแร่ดีบุกในประเทศไทยจึงต้องทะยอยปิดตัวลง คนงานต่างก็พากันอพยพไปทำงานที่อื่น และในที่สุดตำนานแห่งเหมืองปิล๊อก จึงกลายเป็นเพียงเรื่องราวในอดีตที่ถูกเล่าขาน ปัจจุบันไม่มีการขุดหาแร่อีกแล้ว เหลือเพียงซากรถเก่าที่เคยบรรทุกแร่ โรงเก็บอุปกรณ์การร่อนแร่ถูกทิ้งร้าง และพื้นที่บางส่วนที่เคยเป็นอุโมงค์ขุดเจาะแร่ ทิ้งไว้ให้เห็นถึงยุคที่เคยรุ่งเรืองในอดีตเท่านั้น

 

การนอนที่ระแวงทั้งคืน

ช่วงที่ไปเป็นช่วงที่อยู่ในฤดูฝน ช่วงหน้านี้จะมีหมอกเยอะที่สุด ในคืนวันนั้นเจอฝนตกตลอดทั้งวัน จากการที่เรานั้นไม่ได้จองที่พักไว้ล่วงหน้า มาถึงก็ต้องเดินหาที่พักเอง(ศุกร์-เสาร์ คนจะเยอะมาก) ผลของการที่ไม่ได้จองก่อน ก็เลยต้องไปหาที่กางเต้นท์นอนเอง "คืนเดียวเองคงไม่เป็นไรหรอกมั้ง"  ที่กางเต้นท์ อยู่ในโรงเรียน จะมีลานไว้สำหรับรองรับนักท่องเที่ยว หรือขาลุย ชอบลำบาก แบบนอนกลางดิน กิน-กางเต้นท์

นอนนี่นะ ลานจอดฮอ ณ บ้านอีต่อง 

บรรยากาศในเต้นท์ ข้างนอกลมแรงมาก ฝนตกปอยๆ

วิวหลังเขา ณ บ้านอีต่อง
 

เครืองจักรเก่า สมัยการทำเหมือง ยังหลงเหลือเครื่องหมาย ให้ดูให้จดจำว่าที่ตรงนี้เคยเป็นอะไรมาก่อน

เนินช้างศึก ฐานปฎิบัติการช้างศึกกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 135

สะพานทางเข้าหมูบ้านอีต่อง

โรงนอน หรือ โรงเก็บอุปกรณ์การทำเหมือง 

ช่องทางมิตรภาพ ไทย-เมียนมา


การเดินทางไปยัง หมู่บ้านอีต่อง เหมืองปิล็อก

รถส่วนตัว

  • มอเตอร์ไซต์ ขึ้นได้
  • รถยนต์

จากตลาดทองผาภูมิ ไป หมู่บ้านอิต่อง ระยะทาง 70 กม. เส้นทางโค้งกว่า 399 โค้ง ขับขี่ด้วยความระมัดระวัง สภาพถนนเป็นถนนลาดยาง บางช่วงมีผิวถนนชำรุดเป็นหลุมบ่อ ควรเดินทางออกก่อนเวลา 15.00 น. (ควรศึกษาเส้นทางให้ละเอียด ผู้ขับรถควรมีความชำนาญ)

 

รถโดยสารประจำทาง

จากท่าตลาดทองผาภูมิ เป็นรถสองแถวสีเหลือง ด้านข้างเขียนว่า ตลาดทองผาภูมิ–อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ – บ้านอีต่อง
– ขาขึ้น เริ่มเดินทางจากตลาดทองผาภูมิ รถออกประมาณเวลา 10.00 จนถึง 12.00 น.
– ขาลง จากบ้านอีต่องลงไปข้างล่าง รถออกเวลา  6.00 จนถึง 7.00 น.

ท้ายสุด

ขอขอบคุณเจ้าของที่พัก อีต่องโฮมสเตย์ ที่ลงมาส่งจากหมู่บ้านอีต่องจนถึงตลาดทองผาภูมิ

เนื่องจากเราไม่รู้ว่ารถหมดแค่ 7โมงเช้า เราจำเป็นต้องโบกลงไป ตลาดทองผาภูมิ เพื่อได้ลงไปต่อรถเข้าเมือง พอดีพี่เขาใจดี  (พอดีพี่เขาจะลงมาซื้อของที่ตลาด) พอดีเลยได้ไปด้วยกัน ตังค์ก็ไม่เอาสักบาท

ใครไปเที่ยวบ้านอีต่อง จะนอนค้างแนะนำที่นี่เลย

https://web.facebook.com/etonghomestay/