"พี่รู้สึกตัวก็สายเสียแล้ว ปักใจแน่แน่ว รักแต่เธอ หลงแต่เธอ"
เพลงนี้ ดูจะเหมาะกับสถานที่ ทะเลน้อย พัทลุง สำหรับผมอย่างยิ่ง ผมรู้สึกหลงรักที่แห่งนี้ แม้ในช่วงสองวันที่ผ่านมา ดินฟ้าอากาศไม่ค่อยเป็นใจนัก และอีกอย่างก็ต้องนึกถึงคนอื่นที่มาทริปเดียวกันที่เขาต้องการไปเที่ยวในที่อื่นๆ ต่างจากเรา อยู่ที่นี้ สามวันเลยก็ได้ไม่ต้องไปไหน...
คืนสุดท้ายก่อนกลับได้มีการถามเสียงสมาชิกว่า พรุ่งนี้เช้ามืด ใครต้องการถ่ายไปยกยอบ้าง.....
หลายคนเงียบเพราะต้องตื่นตั้งแต่ตีห้า แต่มีสามคน ยกมือไปๆๆ
"แหมมาตั้งไกล วันนี้อาจได้ดวงอาทิตย์ดวงโตๆ เป็นฉากหลัง ฉากหน้าเป็นยกยอก็ได้...." ผมคิด
'ยกยอ' หมายถึงความหมาย ยกย่อง สรรเสริญ พูดส่งเสริมให้ดีขึ้น
ยกย่องเกินความจริง ก พูดส่งเสริมให้..คลิ๊ก ดูความหมายคำอ่านคําแปลเพิ่มเติม.... ผมเปิดหาข้อมูลใน google ไม่ใช่ซิ
แต่คำว่า"ยอ" ในที่นี้ มีรูปร่างเป็นร่างแหสี่เหลี่ยม มุมทั้งสี่ยึดกับไม้ไผ่หรือไม้รวก และยึดรวมไว้ตรงกลางกับที่ยึดแขนยอ ซึ่งทำจากกระบอกไม้ไผ่ โดยมีไม้คานยกหรือไม้คันชั่งผูกโยงติดกับที่ยึดแขนยอ
เช้าตีห้าของวันสุดท้ายของการเที่ยวพัทลุง เราพร้อมกันที่รถตู้ ออกเดินทางไปปากประ รถตู้จอดที่เชิงสะพานบอกว่า นี้คือคลองปากประ ตอนนี้มืดมองไม่เห็นอะไรเลย จนกระทั้งมีรถแล่นสวนมา จึงรู้ว่าเป็นถนนข้ามลำคลอง มีนักถ่ายภาพรออยู่ก่อนสองสามคน ตอนนี้ก็ยังไม่ได้หาทำเล วางขาตั้งกล้อง เพราะ มองออกไปมืด เห็นเงาตะคลุบๆ ร่างๆ เลยคิดว่า เดินดูทั่วๆ ดีกว่า ว่าจะปักหลักตรงไหนดี
ผมเปิด App เช็คทิศทางที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นว่า มุมไหน พร้อมทั้ง ทดลองถ่ายภาพกลางคืน เพื่อจะดูบรรยากาศรอบๆ
"แม่เจ้า....." ผมอุทานในใจ ในภาพที่เห็น ผมเห็นยกยอเรียงรายอยู่ในลำคลองมากมาย แต่สิ่งที่เป็นของแถมมานั้นคือ สายไฟ ไม่ใช่เส้นเดียว แต่มีทั้งหมด 3 เส้นเรียงกัน แถมตรงหน้าผมมีสายว่าวอีกเป็นใจใหญ่ๆ ห้อยแกว่งไปมาอีกตังหาก
ย้ายที่ครับ ไม่ต้องคิดมาก...ว่าแล้วก็เริ่มขยับไปมา เช้านี้ผมเตรียมอุปกรณ์กันยุงเช่นปลอกแขน กางเกงขายาว มาอย่างเต็มที่ แต่บนสะพานลมเย็นมาก
การกางขากล้องต้องกางแบบ สองข้างอยู่บนฟุตบาต ทางเดิน ส่วนหนึ่งหาแหย่ออกไปด้านนอก เหตุที่ตั้งตั้งขาอย่างนี้เพราะ เนื้อที่ยืนแทบไม่มี หากร่างกายเกิดรุกล้ำไปในถนนอาจเกิดอันตรายได้
ผมต้องหามุมที่คิดว่า ไม่ติดสายไฟ ได้มุมแบบดีที่สุด (เดาๆๆเอา) แล้วที่เหลือ นั่งภาวนาให้พระอาทิตย์ขึ้นมาดวงสวยๆ
คลองปากประ คืออีกหนึ่งแหล่งน้ำที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งของจังหวัดพัทลุง เป็นคลองที่เกิดจากการรวมตัวของลำน้ำสายต่างๆในเขตอำเภอควนขนุน ได้แก่ คลองท่าสำเภา คลองมะกอกใต้ และคลองปากคลอง ไหลมาบรรจบกันเป็นคลองปากประ ซึ่งอยู่บริเวณทางทิศใต้ของวัดวิหารสูงในบริเวณบ้านมะกอกใต้ ตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง แล้วไหลออกสู่ทะเลสาบสงขลาที่หมู่บ้านปากประ ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง คลองสายนี้เป็นหัวใจสำคัญทางการเกษตรกรรมของชาวอำเภอควนขนุนนั่นเอง
แสงเริ่มมาแต่ดวงอาทิตย์หายไปไหนแล้ว ตอนนี้เริ่มมีเพื่อนๆ นักถ่ายภาพมาจับจองพื้นที่กันเต็มสะพาน ผมรู้สึกอุ่นใจชอบนะที่มีคนมาถ่ายภาพกันเยอะ ดีกว่าคนที่มากันเยอะๆ ไม่ใช่พวกชอบถ่ายภาพแต่ชอบแสวงหาทรัพย์ อันนี้ต้องระวังนะครับ หากต้องไปถ่ายภาพนอกสถานที่แล้วต้องไปคนเดียว ต้องระวังอันตราย ควรหาเพื่อนไปด้วยอย่างน้อย 3-4 คน จะรู้สึกอุ่นใจมาก
ผมเก็บภาพได้สักพัก ก็เริ่มเปลี่ยนมุม เพราะเริ่มสังเกตุว่า หากการถ่ายรูปโดยใช้ speed shuter ที่ต่ำ อาจทำให้ตัวยกยอเบลอได้ ว่าแล้วเปลี่ยนที่ ก็ต้องยิ้มทักทาย เจ้าของพื้นที่เดิม
"ได้ภาพดีไหม" ผมทัก นักถ่ายภาพคนนั้นยิ้มแต่ไม่พูดอะไร
ผมก็ไม่สนใจ แต่เริ่มแปลกใจ ที่กลุ่มเพื่อนของเขามาคุยกันไม่ได้พูดภาษาไทย
ผมเลยถามเป็นประกิตว่า "คุณเป็นคนมาเลย์เชียใช่ไหม" เขายิ้มและพยักหน้า...
แม่เจ้า!! เดียวนี้ มาเลย์จัดทริปมาถ่ายรูปไกลถึง พัทลุงเชียวเหรอ....
การยกยอปลาลูกเบร่ที่ริมทะเลปากประ จ.พัทลุงเพื่อนำมาปรุงเป็นอาหารนับได้ว่าเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านใน จ.พัทลุงที่น่าสน ซึ่งแสดงให้เห็นภูมิปัญญาในการจับปลาเพื่อให้ได้ซึ่งอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนการ โดยเฉพาะในปัจจุบันของพัทลุง เริ่มนิยมการยกยอปลาลูกเบร่
คลองปากประ เป็นคลองใหญ่ที่เชื่อมเข้าออกสู่ทะเลน้อย ดังนั้นจึงกลายเป็นศูนย์รวมเหมือน Center Point ปากคลอง ที่บรรดาเหล่าสัตว์น้ำต่างๆต้องเข้าออก จึงเกิดภูมิปัญญาชาวบ้านสร้างยอยักษ์ไว้ที่นี่มากมาย
ที่นี่เป็นจุดหนึ่งในหลายๆแห่งของทะเลน้อย ที่เราได้เห็นวิถีชีวิตชาวบ้านในยามเช้าได้อย่างดี ไม่น่าเชื่อว่า เพียงคนเดียว สามารถยก "ยอยักษ์" ขึ้นมาได้ ทั้งที่ยอนั้นมีขนาดใหญ่มาก ดูแล้วไม่น่าจะยกขึ้นมาได้ "ยกยอ" น่าเป็นเครื่องมือหาปลาพื้นบ้านที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ผมเก็บภาพจนนักถ่ายภาพท่านอื่นกลับไปแล้ว เหลือแต่เราสามคนกลุ่มสุดท้าย ดูนาฬิกาแล้วใกล้เวลานัดหมาย กลุ่มที่รอขึ้นรถที่บ้านพัก ...