Search and share travel destinations and experiences in Thailand Sign up Log in
 
บ้านจิม ทอมป์สัน เรือนอันเรืองรอง ของราชาผ้าไหมไทย The Jim Thompson House (พิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สัน) จ.กรุงเทพมหานคร
    • Posts-1
    theTripPacker •  September 27 , 2013

    คงจะไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าใครซักคนจะหลงเสน่ห์ความงดงามในของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มากถึงขนาดคลั่งไคล้ เฉกเช่นเดียวกับอดีตนายทหารสายเลือดอเมริกันอย่าง คุณจิม ทอมป์สัน ที่ครั้งหนึ่งเคยเข้ามาประจำการเพื่อปฎิบัติหน้าที่ในประเทศไทยจนกระทั่งลา ออกจากราชการเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง จึงได้ตัดสินใจย้ายมาลงหลักปักฐานยังดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้เป็นการถาวร และนี่ถือเป็นปฐมบทของการเป็นราชาผ้าไหมไทยจวบจนทุกวันนี้


    • Posts-2
    theTripPacker •  September 27 , 2013

    การที่คุณจิมย้ายมาอาศัยอยู่ในเมืองไทยนั้น เนื่องด้วยความชื่นชมในวิถีความเป็นไทย  เห็นได้จากการเข้ามาสนับสนุนงานหัตถกรรมอย่างการทอผ้าไหม โดยเฉพาะกับชุมชนบ้านครัว ซึ่งเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายจาม ถึงขั้นที่ว่ามาปลูกบ้านตรงข้ามฝั่งคลองกับชุมชนนี้เลยทีเดียว นั่นก็เพื่อความสะดวกในการข้ามไปตรวจผลงานผ้าไหมที่ถูกผลิตออกมา และดูเหมือนว่าคุณจิมคงมองเห็นความพิเศษอะไรบางอย่างในตัวผ้าไหมไทย จึงได้เดินสายนำเสนอเอกลักษณ์ของผ้าไทยเพื่อให้เป็นที่รู้จักของผู้คนทั้ง โลก แล้วความฝันก็เป็นจริงขึ้นมาจนได้ เมื่อนิตยสารแฟชั่นชื่อก้องโลกอย่างโว๊ค แมกกาซีน ได้นำนางแบบมาสวมชุดที่ตัดด้วยผ้าไหมไทยขึ้นปกหนังสือ  และเมื่อมีผลตอบรับที่ดีคุณจิมจึงพกความมั่นใจเดินทางกลับมากรุงเทพฯ และได้ก่อตั้ง บริษัท อุตสาหกรรมผ้าไหมไทย จำกัด ขึ้นมาในที่สุด จากนั้นไม่นานเหตุการณ์ที่ทุกคนไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นมาใน 26 มีนาคม 2510 ระหว่างที่คุณจิมไปพักผ่อนที่คาเมรอน ไฮแลนด์ส ประเทศมาเลเซีย คุณจิมได้หายสาบสูญไปในป่า แม้จะมีการระดมทีมค้นหาแต่ก็ไม่พบร่องรอยใดๆ มาจนถึงปัจจุบัน

    ทว่าไม่เพียงเฉพาะแต่ผ้าไหมเท่านั้น คุณจิมยังหลงใหลบ้านเรือนไทยไม่ได้น้อยไปกว่ากันเลย โดยบ้านหลังที่คุณจิมเคยอาศัยนั้น เป็นเรือนไม้สักเก่าจากทั้งอยุธยาและที่อื่นๆ นำมาประกอบขึ้นใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ.2502 ปัจจุบันได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้แก่ผู้สนใจได้เข้าชม ซึ่งลักษณะของเรือนไทยที่นี่ ผสมผสานความเป็นตะวันตกเข้ามาเพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้สอย แต่ถ้าไม่สังเกตให้ดีก็แทบจะดูไม่ออกเลย  เช่นบันไดที่จะอยู่ภายในตัวบ้านรวมถึงห้องน้ำด้วย ซึ่งต่างจากเรือนไทยในอดีต ที่ทั้งสองส่วนนี้จะถูกสร้างไว้นอกตัวบ้าน อีกทั้งความเป็นนักสะสมข้าวของต่างๆ จึงทำให้เรือนหลังนี้ถูกตกแต่งด้วยรูปปั้นหรือแม้แต่ภาพเขียนเก่าไว้มากมาย สร้างความน่าสนใจมากขึ้นอีกเป็นเท่าตัว

    • Posts-3
    theTripPacker •  September 27, 2013
    • Posts-4
    theTripPacker •  September 27 , 2013

    ซึ่งเรือนหลังนี้ถือว่าใหญ่โตอยู่พอสมควร พื้นที่แต่ละส่วนถูกแบ่งสรรไว้อย่างชัดเจน เริ่มตั้งแต่เมื่อเดินขึ้นเรือนมาก็จะพบกับห้องจัดแสดงเครื่องเบญจรงค์ลวด ลายวิจิตร ถัดไปก็จะเป็นห้องรับประทานอาหาร จนเมื่อออกจากห้องนี้แล้วตรงไปตามทางเดิน ก็จะพบกับห้องทางซ้ายมือเล็กๆ ซึ่งเป็นที่เก็บของสะสมของคุณจิม และของชิ้นเก่าแก่ที่สุดของบ้านหลังนี้ก็อยู่ในห้องนี้ด้วยเช่นกัน ขณะที่ผนังข้างฝาก็จะมีภาพเขียนเก่าประดับไว้พ้รอมๆ ของประดับอื่นๆ ในส่วนถัดไปก็จะเป็นพื้นที่สำหรับไว้ต้อนรับแขกโดยมีพื้นที่กว้างขวางพอ สมควร ตกแต่งด้วยโคมไฟ รวมถึงรูปปั้นต่างๆ กระทั่งเมื่อเดินลึกเข้าไปเล็กน้อยก็จะเป็นห้องทำงานของคุณจิมซึ่งสามารถ เดินเชื่อมไปสู่ห้องนอนได้ด้วยเช่นกัน จุดหนึ่งที่ดูแปลกตาไปจากเรือนไทยอย่างประตูซี่กรงไม้ทรงจีน ซึ่งเป็นประตูเก่าของโรงรับจำนำ แต่เมื่อคุณจิมได้ซื้อและนำมาติดตั้งเข้ากับเรือนไทยกลับดูแปลกตาทว่าก็ดูลง ตัวเป็นอย่างดี

    • Posts-5
    theTripPacker •  September 27, 2013
    • Posts-6
    theTripPacker •  September 27 , 2013

    ในส่วนพื้นที่โดยรอบของบ้านนั้นค่อนข้างร่มรื่น มากด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ที่แทรกตัวด้วยเรือนหลังเล็กอีกหลายหลัง ทั้งที่เป็นเรือนสำหรับจัดแสดงข้าวของต่างๆ รวมไปถึงหลังที่เปิดเป็นร้านขายของที่ระลึก และห้องอาหารซึ่งสามารถใช้เป็นห้องจัดเลี้ยงได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เรือนไทยของคุณจิมแห่งนี้ยังได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น เมื่อปี 2539 จากสมาคมสถาปนิกสยามฯ อีกด้วย เอาเป็นว่าถ้าอยากลองเปลี่ยนบรรยากาศจากความแออัดของตึกสูงและความวุ่นวาย ที่นี่ก็เหมาะเป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ บางทีระหว่างที่เดินชมอยู่นั้นเราอาจจะมองเห็นความงามที่เคยมองข้ามไป แต่คงไม่ใช่กับชายผู้มีนามว่า จิม ทอมป์สัน ซึ่งหลงใหลได้ปลื้มในความเป็นไทยอย่างถึงที่สุดแล้ว

    • Posts-7
    theTripPacker •  September 27 , 2013

    Note

    - การเที่ยวชมจะมีไกด์คอยนำ ทั้งไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น

    - ที่นี่ยังมีร้านอาหารและร้านขายผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าไหม

    - ไม่แนะนำให้นำรถส่วนตัวมาเพราะพื้นที่มีค่อนข้างจำกัด มีที่จอดรถน้อย

    • Posts-8
    theTripPacker •  September 27, 2013

    ความคิดเห็นของผู้เขียน

    • Strong point:
    • ด้วยความโดดเด่นของเรือนไทยที่มีการประยุกต์ความเป็นตะวันตกเข้ามาผสมผสานเนื่องจากมีเจ้าของเป็นชาวต่างชาติ อีกทั้งสิ่งของที่จัดแสดงภายในตัวเรือนนั้นก็ค่อนข้างน่าสนใจ อีกทั้งยังมีไกด์คอยเดินนำชมและอธิบายถึงในส่วนจัดแสดงต่างๆ
    • Weak point:
    • การห้ามนำเอาสิ่งของทั้งกล้องถ่ายภาพ แก้วน้ำ รวมไปถึงกระเป๋าสะพายต่างๆ ขึ้นไปยังตัวบ้านในขณะเยี่ยมชม อาจจะทำให้รู้สึกไม่สะดวกบ้าง แต่ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อข้าวของที่จัดแสดง
    • Conclusion:
    • พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน แห่งนี้เคยเป็นที่อาศัยของราชาผ้าไหมไทยผู้ที่ทำให้คนทั่วโลกรู้จักงานหัตถกรรมพื้นบ้านชนิดนี้ ปัจจุบันที่นี่ได้เปิดให้ผู้สนใจได้เข้าเยี่ยมชมได้ทั้งตัวเรือนและข้าวของสะสมที่คุณจิมเก็บรักษาไว้ อีกอย่างเรื่องการเดินทางก็สะดวกสบายเพราะสถานที่ตั้งนั้นอยู่กลางใจเมือง
    Score
    • Posts-9
    theTripPacker •  September 27 , 2013

    ข้อมูลทั่วไป

    ที่อยู่ : เลขที่ 6 ซ.เกษมสันต์ 2 ถ.พระราม1 กรุงเทพฯ 10330

    GPS : 13.749300, 100.528633

    เบอร์ติดต่อ : 022167368 แฟกซ์ : 026123744

    E-mail : info@jimthompson.house.com

    Website : ww.jimthompsonhouse.com

    Facebook : Jim Thompson House

    เวลาทำการ : ทุกวัน 10.00 น.-18.00 น.

    ค่าธรรมเนียม : ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 200 บ. อายุต่ำกว่า 22 ปี 100 บ. อายุต่ำกว่า 10 ปี ฟรีค่าธรรมเนียม

    ช่วงเวลาแนะนำ : ช่วงตั้งแต่ 10 โมงเช้าจนช่วงก่อนเที่ยง

    ไฮไลท์ : บ้านเรือนไทยของคุณจิม

    กิจกรรม : เรียนรู้ เยี่ยมชมบ้านเรือนไทยและอุดหนุนผลิตภัณฑ์ผ้าไหม 

    • Posts-10
    theTripPacker •  September 27 , 2013

    วิธีการเดินทาง

    เส้นทางที่น่าจะสะดวกก็คือการโดยสารรถไฟฟ้ามาลงที่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ แล้วลงฝั่งตรงข้ามกับสนามศุภชลาศัย จากนั้นให้เข้ามายัง ซอยเกษมสันต์ 2 ซึ่งบ้านจิม ทอมป์สันจะอยู่สุดซอยฝั่งซ้าย และอีกทางเลือกหนึ่งที่สะดวกเช่นกันก็คือการโดยสารแท็กซี่ เพราะพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไม่มีพื้นที่จอดรถเท่าที่ควร

  1. View more